พลังงานแสงอาทิตย์ภายในมหาวิทยาลัย

  • พลังงานแสงอาทิตย์ภายในมหาวิทยาลัย

    โครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานในมหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยพะเยามีนโยบายการใช้พลังงานทดแทนสำหรับผลิตไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานของ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก Alternative Energy Development Plan: AEDP2015 และเป็นไปตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 ให้ทุกส่วนราชการพิจารณานำร่องการใช้ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม เป็นตัวอย่างหรือต้นแบบที่ดีในการส่งเสริม พัฒนาพลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่หน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดทำโครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานในมหาวิทยาลัยพะเยาเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าและจ่ายภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยพะเยาเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างต้นแบบนำร่องให้กับหน่วยงานราชการในการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า 2,912kWpพร้อมระบบตรวจวัดการใช้พลังงานของอาคาร (Energy Monitoring System) โดยการนำรูปแบบบริษัทธุรกิจจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ มาร่วมดำเนินการ วัตถุประสงค์โครงการ

    1. มหาวิทยาลัยพะเยาสามารถการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า2,912kWp ได้ประมาณ 4,110,320 หน่วย/ปี
    2. การส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนสำหรับมหาวิทยาลัยพะเยาและสามารถดำเนินการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ Smart Energy Meter, P2P model, Energy Storage ได้
    3. เป็นต้นแบบหน่วยงานการศึกษาที่มีการผลิตและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ตลอดจนใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป
    4. สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนสำหรับระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ตลอดจนมีส่วนช่วยผลักดันให้การดำเนินงานตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 5. เป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน และแก้ปัญหาพลังงานให้กับประเทศไทย




  • โครงการฯดำเนินการติดตั้งมิเตอร์วัดพลังงานทั้งหมด 77 เครื่อง ภายใน 41 อาคาร แบ่งเป็น

    มิเตอร์สำหรับวัดการผลิตไฟฟ้าของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 13 เครื่อง มิเตอร์วัดการใช้พลังงานของอาคาร 64 เครื่อง


  • อุปกรณประกอบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์



    1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Modules) แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยว (Monocrystalline) ยี่ห้อ ZNshine Solar รุ่น ZXM8-TPLDD110 535W แผงเซลล์แสงอาทิตย์ รุ่น ZXM8-TPLDD110 มีขนาดกำลังไฟฟ้า 535 วัตต์ต่อแผง มีแรงดันไฟฟ้าสูงสุดขณะทำงานของแผงเซลลแสงอาทิตย์ 37.40 โวลต์ต่อแผง มีกระแสไฟฟ้าสูงสุดของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 18.19 แอมป์ต่อแผง กรอบแผงเซลล์ทำด้วยอลูมิเนียม มีน้ำหนักเบาไม่เป็นสนิมขนาด (กxยxส) 23.84 ซม. x 10.96 ซม. x 3.5 ซม. และโครงสร้างน้ำหนักรวมต่อแผงคือ 32.5 กิโลกรัม ด้านหลังของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ติดตั้งกล้องรวมสายไฟฟ้า (Junction Box) หรือขั้วต่อสาย (Terminal Box) ที่มั่นคงแข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถป้องกันการซึมเข้าของน้ำได้ทนทานต่อสภาวะการใช้งานภายนอก (IP68) และมีอายุการใช้งานยาวนานเทียบเท่าแผง แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีการผนึกด้วยสารกันความชื้น Ethylene Vinyl Acetate (EVA)


    2. เครื่องแปลงไฟฟ้าแบบเชื่อมต่อระบบจำหน่าย (String Inverter) ยี่ห้อ Growatt รุ่น MAX 60-80KTL3 LV เครื่องแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า โดยเครื่องแปลงไฟฟ้าจะทำงานอัตโนมัติ เมื่อมีแสงแดดเพียงพอ เครื่องก็จะเริ่มทำการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นกระแสสลับโดยอัตโนมัติ และเมื่อไม่มีแสงแดด หรือแสงแดดไม่ เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า (ช่วงเวลากลางคืน) เครื่องก็จะหยุดการทำงานโดยอัตโนมัติเช่นกัน


    3. ตู้ควบคุมไฟฟ้ากระแสตรง (DC Panel) DC Fuse เมื่อเกิดกระแสเกินพิกัด (Overload Current) หรือกระแสลัดวงจร (Short Circuit Current) ทำให้วงจรขาดและกระแสไม่ไหลอีกต่อไป เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์และผู้ใช้อุปกรณ์


    5. ตู้ควบคุมไฟฟ้ากระแสสลับพลังงานแสงอาทิตย์ (AC Panel) ตู้ควบคุมไฟฟ้ากระแสกระแสสลับพลังงานแสงอาทิตย์ (AC Panel) คือ ตู้ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ควบคุม ไฟฟ้ากระแสสลับทางด้านขาออกของเครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter) ทั้งหมดโดยจะตัดวงจรไฟฟ้าหากเกิดการ ลัดวงจรขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากเครื่องแปลงไฟฟ้าฯ (Inverter) หรือระบบจำหน่ายเองก็ตาม รวมถึงใช้ตัด กระแสไฟฟ้าเพื่อการซ่อมบำรุงระบบ

    6. อุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Sensors) คือ ตัวอุปกรณ์ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีผลต่อการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ (Sensors) ในระบบประกอบด้วยเซ็นเซอร์ ดังต่อไปนี ความเร็วลม อุณหภูมิแวดล้อม

    7. อุปกรณ์ปลดวงจรระบบไฟฟ้ากระแสตรงสำหรับการดับเพลิง (PV Firefighter Safety Switch) คือ อุปกรณ์ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าระหว่างแผงเซลล์แสงอาทิตย์กับ Inverter หากมีเพลิงไหม้หรือมี การดับไฟฟ้าที่จ่ายให้กับตัวอุปกรณ์ โดยอัตโนมัต

    8. อุปกรณ์รีเลย์(Relay) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ตรวจสอบสภาพการณ์ของทุกส่วนในระบบกำลังไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาหากระบบ มีการทำงานที่ผิดปกติ รีเลย์จะเป็นตัวสั่งการให้ตัดส่วนที่ลัดวงจรหรือส่วนที่ทำงานผิดปกติ ออกจากระบบทันที